วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เที่ยวทั่วไทย Thai Tour and Travel แนะนำ ธุรกิจรถเช่ากับ AEC

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมของชาติใน Asean 10 ประเทศโดยมี ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจะมีรูปแบบคล้ายๆกลุ่ม Euzo zone นั้นเองจะทำให้มีผลประโยชน์อำนาจต่อรองต่างๆกับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้าส่งออกของชาติ อาเซียนก็จะเสรียกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ล่ะประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) Asean จะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ณ วันนั้นทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว

ความเป็นมาของ AEC
                                                                                AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน



เป้าหมายของ AEC

1.ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวมีการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือโดยเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น

2.ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

3.ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก

4.ส่งเสริมการรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกของอาเซียน

ผลกระทบของ AEC ต่อประเทศไทย

ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) พร้อมกับเพื่อนประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ โดยมีข้อตกลงที่กลุ่มสมาชิกอาเซียนยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติหรือมาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ (Mutual  Recognition  Arrangement : MRA) อยู่ด้วย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพหรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี จุดประสงค์ของ MRA ของอาเซียนก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ โดยอาเซียนตกลงกันว่าจะยอมรับคุณสมบัติเพื่ออำนวยความสะดวกในขั้นตอนการขอใบอนุญาต แต่ MRA ของอาเซียนจะยังไม่ไปถึงขั้นที่จะยอมรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งกันและกัน และจะเน้นหลักว่านักวิชาชีพต่างด้าวจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศที่ตนต้องการเข้าไปทำงาน

การเตรียมตัวรับมือ AEC

                การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นมากกว่าการเปิดเสรีทางการค้า ที่นอกจากจะส่งผลให้อาเซียน 10 ประเทศ เป็นเหมือนประเทศเดียวกัน ไม่มีกำแพงภาษี ไม่มีการกีดกันทางการค้า สินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน มีฝีมือเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ยังจะประกอบไปด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลากหลายสาขา เช่น เกษตร การส่งเสริม SME การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน

ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ ในฐานะผู้ใช้สิทธิประโยชน์จาก AEC จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการเปิดเสรี และการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชนไทยในตลาดโลก หากรู้จักใช้ประโยชน์จากการเป็น AEC ไม่ว่าจะเป็นตลาดภูมิภาค ฐานการผลิต ฐานการลงทุน และพันธมิตรทางการค้า

ภาคประชาชน ในฐานะผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับ AEC โดยการมีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าและบริการจากประเทศอาเซียนอื่นที่มีคุณภาพและราคาที่หลากหลายมาก ขึ้น รวมทั้งมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากการบริโภคข้ามพรมแดน ขณะเดียวกัน ประชาชนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณภาพ และมาตรฐานสินค้า และการให้บริการต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกเอาเปรียบ/หลอกลวงจากสินค้าหรือบริการที่ด้อยคุณภาพ

ภาคประชาชน ในฐานะลูกจ้างไม่ว่าจะอยู่ในภาคราชการ หรือภาคเอกชน จะมีโอกาสและความท้าทายที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือในภูมิภาคที่ง่ายขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาส ในการเข้าไปท้างานในประเทศสมาชิกอาเซียน และเพิ่มรายได้จากการทำงานในต่างประเทศ แต่ในทางกลับกันก็จะต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดแรงงานภายในประเทศจากแรงงานมีฝีมือของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น

1.พัฒนาระบบและฐานข้อมูลการค้าการลงทุน

2.สร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐของไทยและอาเซียน

3.ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างภาคธุรกิจไทยและอาเซียน

4.ส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการที่ตรงกับความต้อง

5.ยกระดับภาพลักษณ์สินค้าและธุรกิจบริการไทย และส่งเสริมการสร้างตราสินค้าไทย

6.ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการไทย

7.พัฒนาระบบลอจิสติกส์และอ้านวยความสะดวกทางการค้า

สถานการณ์ตลาดรถเช่าปัจจุบันในประเทศไทย

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจภาคเอกชน หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่างหันมาใช้บริการรถเช่าในการการดำเนินงานมากขึ้น เพื่อลดความยุ่งยากและลดต้นทุนในการบริหารรถยนต์ ขณะเดียวกันค่าเช่ายังสามารถนำไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ในการชำระภาษีประจำปีได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้จะเติบโตได้ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการจะต้องมีความพร้อมในด้านการบริการด้วยความเอาใจใส่ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และจำนวนรถสำรองเพื่อทดแทนระหว่างการซ่อมบำรุง เพื่อทำให้ผู้เช่าเกิดความเชื่อมั่นที่จะใช้บริการต่อไป

ธุรกิจรถเช่าจะปรับตัวอย่างไรเพื่อความอยู่รอดใน AEC

การเติบโตของภาคธุรกิจท่องเที่ยวไทยและอาเซียน ที่คาดว่า ภายหลังจากการเปิดเสรี AEC จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยและประเทศ ต่างๆในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งจุดนี้นับเป็นโอกาสในการขยายตลาดสำหรับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ให้บริการรถเช่าที่เน้นจับตลาดนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือตลาดท่องเที่ยวในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย อาทิ พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น